คอลัมป์ Leader a La Carte เขียนโดย รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ได้กล่าวอ้างถึง Professor Andy Hargreaves แห่ง Boston Collage ซึ่งเป็นผู้เสนอแนวคิดภาวะผู้นำที่ยั่งยืน (ค.ศ.2000) ว่าประกอบด้วยหลักคิด 7 ประการ คือ
1.) ความลึกของเนื้อหาและคุณค่า (Depth) ผู้นำที่ยั่งยืนย่อมพัฒนาเนื้อหาหรือคุณค่าที่มีความยั่งยืนในตัวของมันเอง เช่น ผู้นำในวงการศึกษาย่อมพยายามพัฒนาองค์ความรู้ที่มีคุณค่า ช่วยแก้ปัญหาในสังคม หรือผู้บริหารองค์กรย่อมพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุดของพนักงานเพื่อที่พนักงานจะได้สร้างองค์ความรู้ที่สามารถนำไปพัฒนผลิตภัณฑ์และบริการให้ดียิ่งขึ้น เป็นต้น
2.) การยืนหยัดอยู่ได้ (Endurance) ผู้นำที่ยั่งยืนจะสร้างและพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อจากตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี้เป็นภารกิจที่ท้าทายผู้นำทุกคน เพราะผู้นำต้องลดความเห็นแก่ตัวในการยึดติดกับตำแหน่งและมีวิสัยทัศน์ที่คำนึงถึงอนาคตของส่วนรวมมากกว่าความต้องการของตนเอง เนื่องจากองค์กรจำเป็นต้องมีผุ้นำคนต่อไปที่สามารถยิ่งๆ ขึ้นไป ถ้าทำเช่นนี้ได้ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพก็จะได้รับการสืบทอดต่อไปไม่สิ้นสุด
3.) ความกว้าง (Breadth) ผู้นำที่ยั่งยืนจะขยายขอบเขตการทำงานให้กว้างขึ้น เช่น พัฒนาภาวะผู้นำและถ่ายทอดกลยุทธ์การเป็นผู้นำให้พนักงานหลายคนหลายระดับชั้นได้พัฒนาภาวะผู้นำด้วย
4.) ความยุติธรรม (Justice) ผู้นำย่อมใส่ใจเรียกร้องและปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมความยุติธรรมของสังคม
5.) ความหลากหลาย (Diversity) ผู้นำย่อมปลูกฝังและสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีความแตกต่างหลากหลายเพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ไม่ยึดติดกับมาตรฐานหรือแนวทางปฏิบัติเดิมโดยไม่คิดท้าทายกระบวนการ
6.) การอนุรักษ์ (Conservation) ผู้นำย่อมตระหนักและแยกแยะออกว่าค่านิยมหรือแนวทางปฏิบัติดั้งเดิมอะไรบ้างที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และอดีตอันใดที่ควรยกเลิกหรือเก้ไขปรับปรุง
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2555
วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555
สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในการส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ
วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ เมื่อเวลา 10.00 น. พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง “สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในการส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ” ทั้งนี้ พล.อ.เปรมกล่าวว่า ตนขอชมเชยคณะทำงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสภายุวพุทธิสมาคมแห่งชาติในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เลือกหัวข้อสัมมนาได้เหมาะสมกับห้วงเวลาและสถานการณ์ปัจจุบัน สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันหลัก และสำคัญของประเทศเรา คนไทยยึดมั่น ถือมั่น และแน่วแน่ต่อสถาบันทั้งสามมาตั้งแต่โบราณ ทำให้ประเทศอันเป็นที่รักของเราดำรงเอกราชอยู่ได้ตราบทุกวันนี้ คนไทยต่างรักและกลมเกลียวกัน อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขตลอดมา
ปัจจุบันมีองค์กรต่างๆ ชมรมต่างๆ กลุ่มต่างๆ ให้ความสนใจต่อสถาบันทั้งสามมาก และนำไปพูดจาถกแถลงและวิเคราะห์กันในวงกว้าง พูดถึงสถาบันทั้งสามในแง่มุมต่างๆ ตามที่ตนมีความเห็น มีเหตุผลทำนองเดียวกับที่ผู้มีเกียรติกำลังจะทำในวันนี้ โดยความเห็นส่วนตัว ตนสนับสนุนการสัมมนาทุกกลุ่ม ทุกส่วน เพราะตนเห็นว่าการสัมมนามีประโยชน์ และจะจบลงโดยมีข้อสรุป ข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ แต่การสัมมนาจะได้ประโยชน์มากหรือได้ประโยชน์น้อย ขึ้นอยู่กับหัวข้อการสัมมนา เจตนาของผู้ร่วมสัมมนา ขอบเขตของการสัมนนา เป้าประสงค์ของการสัมมนา และการนำผลของการสัมมนาไปใช้ เพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวมโดยแท้จริงด้วยความจริงใจ
การนำความสำคัญของสามสถาบันเพื่อใช้เป็นมาตรการในการส่งเสริมความมั่นคงของประเทศนั้นเราจะต้องใคร่ครวญ ไตร่ตรองให้รอบคอบ เพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจตรงกัน มีข้อมูลข้อเท็จจริงบนพื้นฐานจริงพวกเราต้องเผชิญกับความเป็นจริง จึงจะสมประโยชน์จริง ชาติ คือ ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ ขณะนี้มีการแบ่งฝ่ายกันเห็นได้อย่างชัดเจน มูลเหตุคืออะไร ก็รู้ๆ กันอยู่ ทำให้มีผลข้างเคียงไปถึงความรักความสามัคคีของคนในชาติ เป็นข้อจำกัดสำคัญต่อความสำเร็จ
ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า การที่มีความคิด ความเห็น ความเชื่อแตกต่างกัน ไม่เป็นอุปสรรคของการดำรงความรัก ความสามัคคีของคนไทยแม้แต่น้อย ถ้าคนในชาติมุ่งประสงค์ในสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศเรา คือ ความสงบสุข ความร่มเย็น ความสันติ และความมั่นคง โดยเที่ยงแท้แน่นอน ความเห็นแตกต่าง ความเชื่อแตกต่างจะไม่เป็นสิ่งกีดกันให้คนไทยรู้รักสามัคคีกัน
ที่มา: www.manager.co.th
ปัจจุบันมีองค์กรต่างๆ ชมรมต่างๆ กลุ่มต่างๆ ให้ความสนใจต่อสถาบันทั้งสามมาก และนำไปพูดจาถกแถลงและวิเคราะห์กันในวงกว้าง พูดถึงสถาบันทั้งสามในแง่มุมต่างๆ ตามที่ตนมีความเห็น มีเหตุผลทำนองเดียวกับที่ผู้มีเกียรติกำลังจะทำในวันนี้ โดยความเห็นส่วนตัว ตนสนับสนุนการสัมมนาทุกกลุ่ม ทุกส่วน เพราะตนเห็นว่าการสัมมนามีประโยชน์ และจะจบลงโดยมีข้อสรุป ข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ แต่การสัมมนาจะได้ประโยชน์มากหรือได้ประโยชน์น้อย ขึ้นอยู่กับหัวข้อการสัมมนา เจตนาของผู้ร่วมสัมมนา ขอบเขตของการสัมนนา เป้าประสงค์ของการสัมมนา และการนำผลของการสัมมนาไปใช้ เพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวมโดยแท้จริงด้วยความจริงใจ
การนำความสำคัญของสามสถาบันเพื่อใช้เป็นมาตรการในการส่งเสริมความมั่นคงของประเทศนั้นเราจะต้องใคร่ครวญ ไตร่ตรองให้รอบคอบ เพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจตรงกัน มีข้อมูลข้อเท็จจริงบนพื้นฐานจริงพวกเราต้องเผชิญกับความเป็นจริง จึงจะสมประโยชน์จริง ชาติ คือ ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ ขณะนี้มีการแบ่งฝ่ายกันเห็นได้อย่างชัดเจน มูลเหตุคืออะไร ก็รู้ๆ กันอยู่ ทำให้มีผลข้างเคียงไปถึงความรักความสามัคคีของคนในชาติ เป็นข้อจำกัดสำคัญต่อความสำเร็จ
ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า การที่มีความคิด ความเห็น ความเชื่อแตกต่างกัน ไม่เป็นอุปสรรคของการดำรงความรัก ความสามัคคีของคนไทยแม้แต่น้อย ถ้าคนในชาติมุ่งประสงค์ในสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศเรา คือ ความสงบสุข ความร่มเย็น ความสันติ และความมั่นคง โดยเที่ยงแท้แน่นอน ความเห็นแตกต่าง ความเชื่อแตกต่างจะไม่เป็นสิ่งกีดกันให้คนไทยรู้รักสามัคคีกัน
ที่มา: www.manager.co.th
วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555
องค์ฌานที่ ๑ ถึง ๔
หนังสือเรื่อง หมดสิ้นสงสัย เขียนโดย ครู Sup'k ได้อธิบายว่า ฌาน หรือ อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิอย่างเข้มข้น นั้นประกอบด้วย องค์ฌานที่ ๑ - ๔ ที่ปรากฏทางใจ อธิบายตามพุทธพจน์ จากพระไตรปิฏกเล่มที่11 [๒๓๒] ฌาน ๔ อย่าง
๑ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
๒ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
๓ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
๔ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ฯ
๑ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
๒ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
๓ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
๔ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ฯ
วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555
มรณัสสติ ธรรมแห่งการระลึกถึงความตาย
หนังสือเรื่อง ฤกษ์งามยามดี เรียบเรียงโดย มงคล ได้เขียนเรื่อง ระลึกถึงความตาย ไว้ดังนี้ สมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ ปราสาทสร้างด้วยอิฐใกล้บ้านนาทิกคาม ที่นั้น พระองค์ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
"ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ก็มรณัสสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันผ่านไปกลางคืนย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะของเราพึงกำเริบ หรือลมที่มีพิษเพียงดังศัสตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศล ที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เรา ผู้กระทำกาละในกลางคืน มีอยู่หรือหนอ
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังไม่ได้ละ อันจะพึงเป็นอันตราย แก่เราผู้กระทำในกลางคืนยังมีอยู่
ภิกษุนั้น พึงทำฉันนะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียรความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น เปรียบเสมือนบุคคล ผู้มีผ้าโพกศีรษะถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำฉันนะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟที่ผ้าโพกศีรษะหรือที่ศีรษะนั้น ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืนไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปิติและปราโมทย์ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่เถิด
ภิกษุทั้งหลาย ก็มรณัสสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด"
ที่มา : ฤกษ์งามยามดี, มงคล เรียบเรียง, สำนักพิมพ์น้ำฝน, พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕
"ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ก็มรณัสสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันผ่านไปกลางคืนย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะของเราพึงกำเริบ หรือลมที่มีพิษเพียงดังศัสตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศล ที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เรา ผู้กระทำกาละในกลางคืน มีอยู่หรือหนอ
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังไม่ได้ละ อันจะพึงเป็นอันตราย แก่เราผู้กระทำในกลางคืนยังมีอยู่
ภิกษุนั้น พึงทำฉันนะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียรความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น เปรียบเสมือนบุคคล ผู้มีผ้าโพกศีรษะถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำฉันนะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟที่ผ้าโพกศีรษะหรือที่ศีรษะนั้น ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืนไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปิติและปราโมทย์ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่เถิด
ภิกษุทั้งหลาย ก็มรณัสสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด"
ที่มา : ฤกษ์งามยามดี, มงคล เรียบเรียง, สำนักพิมพ์น้ำฝน, พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕
ป้ายกำกับ:
มรณัสสติ,
ระลึกถึงความตาย,
ฤกษ์งามยามดี
วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส ในพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร ความว่า
"คำอวยพรและคำปฏิญาณสัญญา ที่ทุกท่านได้กล่าวนั้น เป็นที่ประทับใจมาก ขอขอบพระทัยและขอบใจท่านทั้งหลาย ตลอดจนประชาชนชาวไทยทุกคน ที่พรั่งพร้อมกันมาด้วยความปรารถนาดีและไมตรีจิต
ความปรารถนาดีและความพร้อมเพรียงกันของทุกท่าน อย่างที่ได้เห็นในวันนี้ ทำให้ข้าพเจ้าปลื้มใจ มีกำลังใจมากขึ้น ด้วยมีความเชื่อเสมอมาว่า ความเมตตาปรารถนาดีต่อกันนี้ เป็นปัจจัยอย่างสำคัญ ที่จะยังความพร้อมเพรียงให้เกิดมีขึ้น ทั้งในหมู่คณะ และในชาติบ้านเมือง และถ้าคนไทยเรายังมีคุณธรรมข้อนี้ประจำอยู่ในจิตใจ ก็มีความหวังได้ว่า บ้านเมืองไทย ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ๆ ก็จะอยู่รอดปลอดภัย และดำรงมั่นคงต่อไปได้ตลอดรอดฝั่งอย่างแน่นอน"
"ขออำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงคุ้มครองรักษาท่าน และชาติไทย ให้มีแต่ความผาสุก ร่มเย็นยั่งยืนไป"หมายเหตุ : ทรง "ขอบพระทัย" พระบรมวงศานุวงศ์ และทรง "ขอบใจ" ข้าราชการและประชาชนทุกหมู่เหล่า
ป้ายกำกับ:
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,
พระราชดำรัส
วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
สุจิณโณวาทะ ตอน ธรรมมา ธรรมเมา
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ พระสุปฏิปันโนท่านแสดงพระธรรมเทศนาตอนหนึ่งว่า อดีตเป็นธรรมเมา อนาคตเป็นธรรมเมา จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ปัจจุบัน ละในปัจจุบัน ตัดตัณหา ตัดกิเลส ตัดมานะทิฐิ ตัดความยึดมั่นถือมั่นของตนให้เสร็จลงก็สงบได้
อดีตมันล่วงไปแล้วไม่ต้องคำนึงถึง ถือเอาบุญเอาบาปในปัจจุบัน เราทำบุญทำบาป บุญบาปอันนี้แหละพาหมุนไปในปัจจุบัน อดีตผ่านไปแล้วเป็นมาแล้วอย่าไปคำนึงถึงเอามาเป็นอารมณ์ อดีต อนาคตตัดออกให้หมด "อัตตา หิ อัตตโน นาโถ" ตนแลเป็นที่พึ่งของตนให้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมณ์ตลอดชีวิต
เอาพุทโธเป็นมรรคเป็นอารมณ์ของใจ มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นอารมณ์ของใจอย่าให้เป็นธรรมเมา เมาคิด เมาอ่าน เมาอดีต เมาอนาคต ใช้การไม่ได้ ตัดอดีต อนาคตลงให้หมด จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน วางในปัจจุบัน แจ้งอยู่ในปัจจุบัน ตั้งความสัตย์ลงไปว่า เวลานี้เราทำจิตทำใจให้สงบ อย่าไปคิด อดีต อนาคตผ่านไปแล้ว เอาปัจจุบันนี้แหละเป็นที่ตั้ง
อดีตมันล่วงไปแล้วไม่ต้องคำนึงถึง ถือเอาบุญเอาบาปในปัจจุบัน เราทำบุญทำบาป บุญบาปอันนี้แหละพาหมุนไปในปัจจุบัน อดีตผ่านไปแล้วเป็นมาแล้วอย่าไปคำนึงถึงเอามาเป็นอารมณ์ อดีต อนาคตตัดออกให้หมด "อัตตา หิ อัตตโน นาโถ" ตนแลเป็นที่พึ่งของตนให้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมณ์ตลอดชีวิต
เอาพุทโธเป็นมรรคเป็นอารมณ์ของใจ มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นอารมณ์ของใจอย่าให้เป็นธรรมเมา เมาคิด เมาอ่าน เมาอดีต เมาอนาคต ใช้การไม่ได้ ตัดอดีต อนาคตลงให้หมด จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน วางในปัจจุบัน แจ้งอยู่ในปัจจุบัน ตั้งความสัตย์ลงไปว่า เวลานี้เราทำจิตทำใจให้สงบ อย่าไปคิด อดีต อนาคตผ่านไปแล้ว เอาปัจจุบันนี้แหละเป็นที่ตั้ง
วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555
การทำงานให้เป็นสุข
คอลัม ชีวิตและสุขภาพ โดย นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ ได้เขียนถึง การทำงานให้เป็นสุข ไว้อย่างน่าสนใจ กล่าวคือการที่จะทำงานให้เกิดผลสำเร็จอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ควรจะต้องประกอบด้วยอุปนิสัยปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ความขยัน เป็นพลังขับเคลื่อนและปัจจัยที่จะทำให้ผลงานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องมีอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องและเหมาะสมกับวัยหรือสภาพร่างกาย ไม่ควรขยันหรือหักโหมมากจนมีผลกระทบต่อสภาพร่างกาย จิตใจ ครอบครัว สังคม หรือสิ่งแวดล้อมทั้งของตนและผู้เกี่ยวข้อง จึงจะเป็นความขยันที่มีประโยชน์และไม่เกิดโทษในภายหลัง และความขยันที่ดีจะต้องมีความเหมาะสมกับเวลา สถานที่ หน้าที่หลัก หน้าที่รอง หรืออื่นๆ
2. ความตั้งใจ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของคุณภาพและประสิทธิภาพของงาน ซึ่งเริ่มจากการมีความตั้งใจศึกษาหาความรู้ และทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งถึงหลักการ รายละเอียด วิธีการ เหตุผล ความเหมาะสม หรือเคล็ดลับ ตลอดจนการพยายามฝึกฝนจนเกิดทักษะ ความชำนาญหรือความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับงานที่ทำ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนช่วยทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานได้เป็นอย่างดี
3. ความโปร่งใส คือการที่สามารถรับรู้ เข้าถึง ตรวจสอบหรือทบทวนข้อมูลในหน่วยงานได้อย่างสะดวกและถูกต้อง เป็นหัวใจของความซื่อสัตย์และสุจริตของการทำงานร่วมกัน ที่จะต้องให้ความสำคัญทุกระดับทั้งที่เป็นผู้บริหาร ปฏิบัติการ และผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่มีผู้รับผิดชอบรวมกันหลายฝ่าย เพื่อให้เกิดความสบายใจ ไว้วางใจ ไม่หวาดระแวงหรือเกิดความเครียดระหว่างผู้ร่วมงาน
4. ความยุติธรรม ในการทำงานความยุติธรรมเป็นรากฐานของความมั่นคงของระบบงาน และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดความสุขจากการทำงาน กล่าวคือหมายถึงความเหมาะสมของผลงานที่ได้ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณกับผลตอบแทนจากการทำงานนั้น ซึ่งมีความแตกต่างกันตามลักษณะของงานประเภทต่างๆ ที่ถูกกำหนดโดยตำแหน่ง หน้าที่ บทบาทหรือความรับผิดชอบ ตลอดจนความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ ประสบการณ์ สถานที่และเวลาทำงาน และอาจเกี่ยวข้องกับความกันดาร เสี่ยงภัย เหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่าย หรือต้องใช้ความพยายาม ความระมัดระวังหรือความอดทนในการปฏิบัติหน้าที่ที่มีความแตกต่างกันตามบริบทของแต่ละสถานที่ทำงาน
5. ความไม่ประมาท เป็นหลักประกันความสำเร็จของงานและป้องกันอันตรายหรือความเสี่ยงภัยจากการทำงาน ทั้งต่อผู้ปฏิบัติงาน ผู้เกี่ยวข้องและหน่วยงาน ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน ทั้งก่อน ขณะ และหลังการปฏิบัติงาน โดยจะต้องเตรียมความพร้อมต่างๆ ก่อนเริ่มปฏิบัติงานเพื่อความราบรื่นของระบบงานและปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจ มีสติ และระมัดระวัง เพื่อลดโอกาสเกิดความผิดพลาดหรืออุบัติเหตุขณะทำงาน และตรวจสอบคุณภาพหรือความเรียบร้อยของผลงานเพื่อป้องกันความผิดพลาดและรักษามาตรฐานของผลงาน
6. การพัฒนา หมั่นพัฒนางานด้วยการเปิดรับ ค้นคว้า สำรวจ ติดตาม วิเคราะห์ และเพิ่มเติม ความรู้ ข้อมูล แนวคิด มุมมอง วิสัยทัศน์ และประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานให้ได้คุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1. ความขยัน เป็นพลังขับเคลื่อนและปัจจัยที่จะทำให้ผลงานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องมีอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องและเหมาะสมกับวัยหรือสภาพร่างกาย ไม่ควรขยันหรือหักโหมมากจนมีผลกระทบต่อสภาพร่างกาย จิตใจ ครอบครัว สังคม หรือสิ่งแวดล้อมทั้งของตนและผู้เกี่ยวข้อง จึงจะเป็นความขยันที่มีประโยชน์และไม่เกิดโทษในภายหลัง และความขยันที่ดีจะต้องมีความเหมาะสมกับเวลา สถานที่ หน้าที่หลัก หน้าที่รอง หรืออื่นๆ
2. ความตั้งใจ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของคุณภาพและประสิทธิภาพของงาน ซึ่งเริ่มจากการมีความตั้งใจศึกษาหาความรู้ และทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งถึงหลักการ รายละเอียด วิธีการ เหตุผล ความเหมาะสม หรือเคล็ดลับ ตลอดจนการพยายามฝึกฝนจนเกิดทักษะ ความชำนาญหรือความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับงานที่ทำ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนช่วยทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานได้เป็นอย่างดี
3. ความโปร่งใส คือการที่สามารถรับรู้ เข้าถึง ตรวจสอบหรือทบทวนข้อมูลในหน่วยงานได้อย่างสะดวกและถูกต้อง เป็นหัวใจของความซื่อสัตย์และสุจริตของการทำงานร่วมกัน ที่จะต้องให้ความสำคัญทุกระดับทั้งที่เป็นผู้บริหาร ปฏิบัติการ และผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่มีผู้รับผิดชอบรวมกันหลายฝ่าย เพื่อให้เกิดความสบายใจ ไว้วางใจ ไม่หวาดระแวงหรือเกิดความเครียดระหว่างผู้ร่วมงาน
4. ความยุติธรรม ในการทำงานความยุติธรรมเป็นรากฐานของความมั่นคงของระบบงาน และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดความสุขจากการทำงาน กล่าวคือหมายถึงความเหมาะสมของผลงานที่ได้ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณกับผลตอบแทนจากการทำงานนั้น ซึ่งมีความแตกต่างกันตามลักษณะของงานประเภทต่างๆ ที่ถูกกำหนดโดยตำแหน่ง หน้าที่ บทบาทหรือความรับผิดชอบ ตลอดจนความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ ประสบการณ์ สถานที่และเวลาทำงาน และอาจเกี่ยวข้องกับความกันดาร เสี่ยงภัย เหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่าย หรือต้องใช้ความพยายาม ความระมัดระวังหรือความอดทนในการปฏิบัติหน้าที่ที่มีความแตกต่างกันตามบริบทของแต่ละสถานที่ทำงาน
5. ความไม่ประมาท เป็นหลักประกันความสำเร็จของงานและป้องกันอันตรายหรือความเสี่ยงภัยจากการทำงาน ทั้งต่อผู้ปฏิบัติงาน ผู้เกี่ยวข้องและหน่วยงาน ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน ทั้งก่อน ขณะ และหลังการปฏิบัติงาน โดยจะต้องเตรียมความพร้อมต่างๆ ก่อนเริ่มปฏิบัติงานเพื่อความราบรื่นของระบบงานและปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจ มีสติ และระมัดระวัง เพื่อลดโอกาสเกิดความผิดพลาดหรืออุบัติเหตุขณะทำงาน และตรวจสอบคุณภาพหรือความเรียบร้อยของผลงานเพื่อป้องกันความผิดพลาดและรักษามาตรฐานของผลงาน
6. การพัฒนา หมั่นพัฒนางานด้วยการเปิดรับ ค้นคว้า สำรวจ ติดตาม วิเคราะห์ และเพิ่มเติม ความรู้ ข้อมูล แนวคิด มุมมอง วิสัยทัศน์ และประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานให้ได้คุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
พื้นฐาน 4 ประการของผู้นำที่ยิ่งใหญ่
ดร.ไมเคิล เจเซ่น ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด บิสซิเนส สคูล และผู้ได้รับปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์, การเงินและบัญชี จาก มหาวิทยาลัยชิคาโก ได้กล่าวถึง หลักพื้นฐาน 4 ประการในการสร้างชีวิตที่ดี สร้างผู้นำที่ยอดเยี่ยม และสร้างองค์กรที่ดี ซึ่งประกอบด้วย
1.) จงยึดมั่นในความจริงและสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวเอง (Authenticity) คือ ผู้นำควรยึดมั่นในความจริง มีความน่าเชื่อถือทั้งการแสดงออก และความคิดความเชื่อ ซึ่งจะต้องมีความสอดคล้องกัน โดยอาจเริ่มจากเชื่อก่อนว่าอะไรคือสิ่งที่ไม่จริง เพราะใครๆ ก็สามารถแสดงออกภายนอกได้ว่าเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือ แต่จะมีสักกี่คนที่จะยอมรับความจริงว่า ตนไม่ได้รู้อะไรเลย ดังนั้นการที่จะเข้าใจว่าอะไรคือความจริงจึงต้องเริ่มจากการยอมรับกับความไม่จริงของตนเอง กล้าเผชิญหน้าและบอกกับคนอื่นๆ ว่า ตนมีข้อบกพร่องอย่างไร
2.) จงตระหนักกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต (Being Cause in the Matter of Everything in your Life) คือ การตระหนักถึงการมีอยู่ของตนเอง เป็นการสร้างสมดุลระหว่างจุดยืนที่มีอยู่และการแสดงออกเพื่อให้คนอื่นๆ มองเห็น เพราะการที่เราตระหนักว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรานั้นมันเกิดจากความคิดและการกระทำของเรา ไม่ได้เกี่ยวกับปัจจัยภายนอกเลยนั้น จะทำให้เราเป็นอิสระมากขึ้น "ดังนั้นองค์กรที่ยอดเยี่ยมย่อมไม่ตำหนิว่า สาเหตุของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในองค์กรเกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอก แต่จะกลับเข้ามารพินิจพิขารณาจากสิ่งที่องค์กรกระทำและตัดสินใจว่า เป็นสาเหตุให้เกิดความผิดพลาดต่างๆ อย่างไร"
3.) จงหลอมรวมกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวตน (Being Committed to Something Bigger than Oneself) คือ แรงผลักดันที่ทำให้มนุษย์คนหนึ่งก้าวเดินต่อไป หรือยกตัวเองให้สูงขึ้นจากจุดที่เป็นอยู่ นั่นคือจะทำให้คนธรรมดาคนหนึ่งมีความเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่โดยธรรมชาติ เพราะเขาหรือเธอจะยืนหยัดและยึดมั่นในสิ่งที่พวกเขาเชื่อถือ ซึ่งจะเป็นทั้งความปรารถนาต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดและเป็นพลังผลักดันให้คนๆ หนึ่งก้าวเดินไปข้างหน้าตลอดเวลา
4.) จงซื่อสัตย์และตรงไปตรงมา (Integrity) คือ ความเที่ยงตรงต่อความจริง และความตรงไปตรงมานี้ก็มีความหมายมากกว่าเรื่องศีลธรรมจรรยา แต่จะต้องสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ บนพื้นฐานของความจริงและสื่อสารกับโลกในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การที่บุคคลหนึ่งจะเป็นคนที่ซื่อตรงซื่อสัตย์โดยธรรมชาติได้นั้น จำเป็นต้องเริ่มจากการเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเองคิดและตนเองพูด เป็นคนที่ทำมากกว่าพูดและพร้อมจะยอมรับกับกติกาที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงร่วมกัน อีกทั้งยังพร้อมจะพัฒนาและยอมรับกับเหตุผลที่เกิดขึ้นในระหว่างทางอยู่เสมอ ดังนั้นคนประเภทนี้จึงพัฒนาได้ตลอดเวลา ไม่ใช่คนที่คิดว่าเมื่อประสบความสำเร็จแล้วตนถูกต้องทุกอย่าง
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติ ฉบับวันจันทร์ที่28 - วันพูธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2555
1.) จงยึดมั่นในความจริงและสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวเอง (Authenticity) คือ ผู้นำควรยึดมั่นในความจริง มีความน่าเชื่อถือทั้งการแสดงออก และความคิดความเชื่อ ซึ่งจะต้องมีความสอดคล้องกัน โดยอาจเริ่มจากเชื่อก่อนว่าอะไรคือสิ่งที่ไม่จริง เพราะใครๆ ก็สามารถแสดงออกภายนอกได้ว่าเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือ แต่จะมีสักกี่คนที่จะยอมรับความจริงว่า ตนไม่ได้รู้อะไรเลย ดังนั้นการที่จะเข้าใจว่าอะไรคือความจริงจึงต้องเริ่มจากการยอมรับกับความไม่จริงของตนเอง กล้าเผชิญหน้าและบอกกับคนอื่นๆ ว่า ตนมีข้อบกพร่องอย่างไร
2.) จงตระหนักกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต (Being Cause in the Matter of Everything in your Life) คือ การตระหนักถึงการมีอยู่ของตนเอง เป็นการสร้างสมดุลระหว่างจุดยืนที่มีอยู่และการแสดงออกเพื่อให้คนอื่นๆ มองเห็น เพราะการที่เราตระหนักว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรานั้นมันเกิดจากความคิดและการกระทำของเรา ไม่ได้เกี่ยวกับปัจจัยภายนอกเลยนั้น จะทำให้เราเป็นอิสระมากขึ้น "ดังนั้นองค์กรที่ยอดเยี่ยมย่อมไม่ตำหนิว่า สาเหตุของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในองค์กรเกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอก แต่จะกลับเข้ามารพินิจพิขารณาจากสิ่งที่องค์กรกระทำและตัดสินใจว่า เป็นสาเหตุให้เกิดความผิดพลาดต่างๆ อย่างไร"
3.) จงหลอมรวมกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวตน (Being Committed to Something Bigger than Oneself) คือ แรงผลักดันที่ทำให้มนุษย์คนหนึ่งก้าวเดินต่อไป หรือยกตัวเองให้สูงขึ้นจากจุดที่เป็นอยู่ นั่นคือจะทำให้คนธรรมดาคนหนึ่งมีความเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่โดยธรรมชาติ เพราะเขาหรือเธอจะยืนหยัดและยึดมั่นในสิ่งที่พวกเขาเชื่อถือ ซึ่งจะเป็นทั้งความปรารถนาต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดและเป็นพลังผลักดันให้คนๆ หนึ่งก้าวเดินไปข้างหน้าตลอดเวลา
4.) จงซื่อสัตย์และตรงไปตรงมา (Integrity) คือ ความเที่ยงตรงต่อความจริง และความตรงไปตรงมานี้ก็มีความหมายมากกว่าเรื่องศีลธรรมจรรยา แต่จะต้องสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ บนพื้นฐานของความจริงและสื่อสารกับโลกในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การที่บุคคลหนึ่งจะเป็นคนที่ซื่อตรงซื่อสัตย์โดยธรรมชาติได้นั้น จำเป็นต้องเริ่มจากการเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเองคิดและตนเองพูด เป็นคนที่ทำมากกว่าพูดและพร้อมจะยอมรับกับกติกาที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงร่วมกัน อีกทั้งยังพร้อมจะพัฒนาและยอมรับกับเหตุผลที่เกิดขึ้นในระหว่างทางอยู่เสมอ ดังนั้นคนประเภทนี้จึงพัฒนาได้ตลอดเวลา ไม่ใช่คนที่คิดว่าเมื่อประสบความสำเร็จแล้วตนถูกต้องทุกอย่าง
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติ ฉบับวันจันทร์ที่28 - วันพูธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2555
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ตอนที่๗ คิดให้ดี คิดให้ถูกต้อง ดับทุกข์ร้อนในใจได้จริง
หนังสือเรื่อง ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กล่าวว่า คิดให้ดี คิดให้ถูกต้อง จักเกิดเมตตา อันจักเป็นเหตุให้มีขันติที่ถูกแท้ ดับทุกข์ดับร้อนในจิตใจได้จริง ไม่เพียงแต่อดทนบังคับกายวาจาไม่ให้แสดงออกเท่านั้นแต่ใจเราร้อนอยู่
เมตตา เหตุแห่งขันติที่ถูกแท้จะเกิดขึ้นดับทุกข์ดับร้อนในจิตใจได้จริงก็ต้องคิดให้ถูกต้อง ถึงผู้เป็นเหตุแห่งเสียงทั้งหลาย เรื่องทั้งหลาย อันนำให้เกิดความเร่าร้อนขุ่นมัว คือต้องคิดให้ตระหนักชัดแก่จิตใจว่า ใจของผู้เป็นเหตุอยู่ในระดับเดียวกับเสียงกับเรื่องที่เขาก่อขึ้น เสียงและเรื่องที่หยาบที่รุนแรงเลวร้ายจะเกิดก็แต่ใจที่หยาบรุนแรงเลวร้าย และใจเช่นนั้นที่ก่อให้เกิดเสียงเกิดเรื่องเช่นนั้น ย่อมทำให้เจ้าของใจนั้นหาความสุขสงบไม่ได้ ใจเช่นนั้นจึงควรได้รับความเมตตาจากผู้มีเมตตาทั้งหลาย ไม่ใช่ควรได้รับความโกรธแค้นขุ่นเคือง
เมตตา เหตุแห่งขันติที่ถูกแท้จะเกิดขึ้นดับทุกข์ดับร้อนในจิตใจได้จริงก็ต้องคิดให้ถูกต้อง ถึงผู้เป็นเหตุแห่งเสียงทั้งหลาย เรื่องทั้งหลาย อันนำให้เกิดความเร่าร้อนขุ่นมัว คือต้องคิดให้ตระหนักชัดแก่จิตใจว่า ใจของผู้เป็นเหตุอยู่ในระดับเดียวกับเสียงกับเรื่องที่เขาก่อขึ้น เสียงและเรื่องที่หยาบที่รุนแรงเลวร้ายจะเกิดก็แต่ใจที่หยาบรุนแรงเลวร้าย และใจเช่นนั้นที่ก่อให้เกิดเสียงเกิดเรื่องเช่นนั้น ย่อมทำให้เจ้าของใจนั้นหาความสุขสงบไม่ได้ ใจเช่นนั้นจึงควรได้รับความเมตตาจากผู้มีเมตตาทั้งหลาย ไม่ใช่ควรได้รับความโกรธแค้นขุ่นเคือง
วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ตอนที่๖ ขันติที่แท้ เป็นความเบาสบายแก่ใจและกาย
หนังสือ ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กล่าวว่า ใจเป็นใหญ่ ใจมีความสำคัญแก่ทุกชีวิตอย่างยิ่ง การปล่อยให้ใจมีเรื่องเร่าร้อนเข้าเผาลนย่อมมีผลร้ายแก่ชีวิต ขันติที่แท้จริงเป็นขันติที่ให้ความเบาสบายแก่ใจ เบาสบายแก่กาย
เบาสบายแก่ใจคือใจเบิกบาน ปลอดโปร่ง ไม่บอบช้ำเศร้าหมองด้วยความเสียใจ น้อยใจ เจ็บใจ อันเกิดแต่ความไม่สมหวัง ไม่มีอาฆาตพยาบาท อันเกิดแต่ความโกรธแค้นขุ่นเคืองอย่างรุนแรง เบาสบายแก่กายคือจะปฏิบัติหน้าที่การงาน เข้าสังคมสมาคมได้อย่างสบายใจ มั่นใจ ไม่สะทกสะท้านให้ความเย็นแก่ผู้พบเห็นข้องเกี่ยวใกล้ชิด
เมตตาเป็นเหตุให้เกิดขันติได้คือเมื่อได้ยินได้ฟัง ได้รู้ได้เห็นอะไรที่ทำให้กระทบกระเทือนความสงบเย็นข้องใจ ให้คิดถึงผู้ก่อให้เกิดเรื่องเกิดเสียงเหล่านั้นอย่างถูกต้อง
ความสำคัญอยู่ที่ความคิดนั้น ถ้าคิดให้ดี คิดให้ถูกต้อง ก็จะให้เกิดผลดีแก่จิตใจ ถ้าคิดไม่ดี ไม่ถูกต้อง ก็จะเกิดผลไม่ดีแก่จิตใจตนเอง
เมื่อใดพบเห็นหรือได้ยินได้ฟังเรื่องใดสิ่งใด แล้วรู้สึกว่าผลไม่ดีคือความเดือดร้อนกำลังเกิดแก่จิตใจตน เมื่อนั้นให้รู้ว่าตนกำลังคิดไม่ดี คิดไม่ถูกต้อง แม้จะอดทนไม่พูดไม่ทำอะไรกระทบตา กระทบหู กระทบใจผู้อื่น แต่เมื่อใจเร่าร้อนอยู่นั่นเป็นเพียงขันติที่ไม่แท้ พึงแก้ที่ใจ ให้ขันติที่ถูกแท้เกิดขึ้นให้ได้ คือแก้ที่ใจให้สงบเย็นได้เมื่อใด เมื่อนั้นมีขันติที่ถูกแท้แล้ว
เบาสบายแก่ใจคือใจเบิกบาน ปลอดโปร่ง ไม่บอบช้ำเศร้าหมองด้วยความเสียใจ น้อยใจ เจ็บใจ อันเกิดแต่ความไม่สมหวัง ไม่มีอาฆาตพยาบาท อันเกิดแต่ความโกรธแค้นขุ่นเคืองอย่างรุนแรง เบาสบายแก่กายคือจะปฏิบัติหน้าที่การงาน เข้าสังคมสมาคมได้อย่างสบายใจ มั่นใจ ไม่สะทกสะท้านให้ความเย็นแก่ผู้พบเห็นข้องเกี่ยวใกล้ชิด
เมตตาเป็นเหตุให้เกิดขันติได้คือเมื่อได้ยินได้ฟัง ได้รู้ได้เห็นอะไรที่ทำให้กระทบกระเทือนความสงบเย็นข้องใจ ให้คิดถึงผู้ก่อให้เกิดเรื่องเกิดเสียงเหล่านั้นอย่างถูกต้อง
ความสำคัญอยู่ที่ความคิดนั้น ถ้าคิดให้ดี คิดให้ถูกต้อง ก็จะให้เกิดผลดีแก่จิตใจ ถ้าคิดไม่ดี ไม่ถูกต้อง ก็จะเกิดผลไม่ดีแก่จิตใจตนเอง
เมื่อใดพบเห็นหรือได้ยินได้ฟังเรื่องใดสิ่งใด แล้วรู้สึกว่าผลไม่ดีคือความเดือดร้อนกำลังเกิดแก่จิตใจตน เมื่อนั้นให้รู้ว่าตนกำลังคิดไม่ดี คิดไม่ถูกต้อง แม้จะอดทนไม่พูดไม่ทำอะไรกระทบตา กระทบหู กระทบใจผู้อื่น แต่เมื่อใจเร่าร้อนอยู่นั่นเป็นเพียงขันติที่ไม่แท้ พึงแก้ที่ใจ ให้ขันติที่ถูกแท้เกิดขึ้นให้ได้ คือแก้ที่ใจให้สงบเย็นได้เมื่อใด เมื่อนั้นมีขันติที่ถูกแท้แล้ว
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ตอนที่๕ เมตตา เป็นเหตุให้เกิดขันติคือความอดทน
หนังสือ ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กล่าวว่า ผู้มีขันติเป็นผู้มีเมตตา อีกนัยหนื่งก็คือ เมตตาเป็นเหตุให้เกิดขันติ คือความอดทน เมื่อต้องการจะเป็นผู้มีขันติต้องนำเมตตามาใช้คือต้องคิดด้วยเมตตาเป็นประการแรก แล้วจึงพูดจึงทำด้วยเมตตาตาม ต่อมา เมื่อได้รู้ ได้เห็น ได้ยิน ได้สัมผัส ได้กระทบเรื่องใด สิ่งใด ผู้คนใดที่รุนแรงหยาบกระด้าง ไม่ประณีตงดงามแก่ตา แก่หู เป็นต้นของตน แม้ใจหวั่นไหว ไม่ว่ามากหรือน้อย เมื่อสติเกิดรู้ตัว เห็นความหวั่นไหว ความเร่าร้อนแห่งจิตของตน อันเกิดแต่ความโกรธก็ตาม ความคับแค้นใจ ความน้อยใจก็ตาม ความเศร้าเสียใจทุกข์โทมนัสใจก็ตาม ผู้ไม่มีขันติจะคิด จะพูด จะทำ เพื่อระบายความกดดันในใจออก ให้รุนแรงสาสมกับความกระทบกระเทือนที่ได้รับรู้รับเห็น
แต่ผู้มีขันติพอสมควรจะระงับความกดดันให้อยู่แต่ภายในใจ ไม่ให้ระเบิดออกเป็นการกระทำ คำพูด ไม่ให้รู้ ไม่ให้เห็น ไม่ให้ประจักษ์ ไม่ให้กระทบกระเทือนผู้เป็นเหตุให้มีเสียงมีเรื่องเกี่ยวกับตน มาถึงตน
แต่ผู้มีขันติพอสมควรจะระงับความกดดันให้อยู่แต่ภายในใจ ไม่ให้ระเบิดออกเป็นการกระทำ คำพูด ไม่ให้รู้ ไม่ให้เห็น ไม่ให้ประจักษ์ ไม่ให้กระทบกระเทือนผู้เป็นเหตุให้มีเสียงมีเรื่องเกี่ยวกับตน มาถึงตน
ตอนที่๔ ขันติเป็นเหตุแห่งลาภยศและมีสุขอยู่เสมอ
หนังสือ ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสัฆปริณายก กล่าวว่า "ผู้มีขันติไม่หวั่นไหววุ่นวายกับความเร่าร้อน ความหนาว ความหิวระหาย ไม่เร่าร้อนโกรธเคืองขุ่นแค้นกับถ้อยคำแรงร้าย ไม่คร่ำครวญหวนไห้ ไม่ทุกข์ระทมกับความทุกขเวทนาที่มาประสบพบเข้า เมื่อเป็นเช่นนี้ การดำรงชีวิตอยู่ในโลกของผู้มีขันติย่อมไม่สะดุดหยุดยั้งเพราะความหนาว ความร้อน เพราะความหิวระหาย เพราะวาจาแรงร้ายหรือเพราะทุกขเวทนาต่างๆ งานการย่อมดำเนินไปได้เป็นปกติ หนาวก็ปกติ ร้อนก็ปกติ หิวก็ปกติ ระหายก็ปกติ ถูกตำหนิติฉินนินทาว่าร้ายก็เป็นปกติ เกิดทุกขเวทนาก็เป็นปกติ งานการที่ดำเนินไปเป็นปกติตลอดเวลา ไม่เลือกหน้าหนาวหน้าร้อน ไม่เลือกเวลาอิ่ม เวลาหิว ไม่เลือกเวลาระหายหรือไม่ระหาย ไม่ว่าทุกขเวทนาจะกำลังรุมล้อมหรือไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมมีลาภ มียศ และมีสุขเสมอเป็นธรรมดา
วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ตอนที่๓ ผู้มีขันติ ความอดทน สงบอยู่ได้ด้วยอำนาจขันติ
หนังสือเรื่อง ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กล่าวว่า "ผู้มีขันติ ความอดทนนั้น ไม่ใช่ผู้ไม่รู้ร้อนไม่รู้หนาว ไม่ใช่ผู้ไม่รู้หิวระหาย ไม่ใช่ผู้ไม่รู้คำหนักคำเบา ไม่ใช่ผู้ไม่รู้สุขไม่รู้ทุกข์ ผู้มีขันติก็เช่นเดียวกับใครทั้งหลายที่มีสติสัมปชัญญะดีอยู่คือเป็นผู้รู้ร้อนรู้หนาว เป็นผู้รู้หิวระหาย เป็นผู้รู้คำหนักคำเบา เป็นผู้รู้สุขรู้ทุกข์
แต่ผู้มีขันติแตกต่างจากผู้ไม่มีขันติตรงที่ผู้ไม่มีขันตินั้น เมื่อพบร้อนพบหนาวมากไปน้อยไป ก็กระสับกระส่าย กระวนกระวาย แสดงออกถึงความเร่าร้อน ไม่รู้อดไม่รู้ทนของจิตใจ ส่วนผู้มีขันติเมื่อพบร้อนพบหนาวมากไปน้อยไป ก็จะสงบใจอดทนไม่แสดงออกให้ปรากฏทางกาย ทางวาจา หรือเมื่อหิวระหาย ผู้ไม่มีขันติก็จะวุ่นวาย กระสับกระส่ายแสวงหา ส่วนผู้มีขันติจะสงบกายวาจา หิวก็เหมือนไม่หิว ระหายก็เหมือนไม่ระหาย ไม่ปรากฏให้ใครอื่นรู้ได้จากกิริยาอาการภายนอก คำหนักคำเบาก็เช่นกัน ผู้ไม่มีขันติเมื่อกระทบถ้อยคำถึงตนที่หนักหนารุนแรงก็จะเกรี้ยวกราด เร่าร้อน ให้ปรากฏทางกาย ทางวาจา ส่วนผู้มีขันติจะสงบอยู่ได้ด้วยอำนาจของขันติ ได้ยินก็เหมือนไม่ได้ยิน คำหนักก็จะเหมือนคำเบา เสียงติฉินก็จะเหมือนเสียงลมแว่วผ่าน ไม่อาจทำให้ปรากฏเป็นการกระทำคำพูดที่รุนแรงเป็นปฏิกิริยาตอบโต้"
แต่ผู้มีขันติแตกต่างจากผู้ไม่มีขันติตรงที่ผู้ไม่มีขันตินั้น เมื่อพบร้อนพบหนาวมากไปน้อยไป ก็กระสับกระส่าย กระวนกระวาย แสดงออกถึงความเร่าร้อน ไม่รู้อดไม่รู้ทนของจิตใจ ส่วนผู้มีขันติเมื่อพบร้อนพบหนาวมากไปน้อยไป ก็จะสงบใจอดทนไม่แสดงออกให้ปรากฏทางกาย ทางวาจา หรือเมื่อหิวระหาย ผู้ไม่มีขันติก็จะวุ่นวาย กระสับกระส่ายแสวงหา ส่วนผู้มีขันติจะสงบกายวาจา หิวก็เหมือนไม่หิว ระหายก็เหมือนไม่ระหาย ไม่ปรากฏให้ใครอื่นรู้ได้จากกิริยาอาการภายนอก คำหนักคำเบาก็เช่นกัน ผู้ไม่มีขันติเมื่อกระทบถ้อยคำถึงตนที่หนักหนารุนแรงก็จะเกรี้ยวกราด เร่าร้อน ให้ปรากฏทางกาย ทางวาจา ส่วนผู้มีขันติจะสงบอยู่ได้ด้วยอำนาจของขันติ ได้ยินก็เหมือนไม่ได้ยิน คำหนักก็จะเหมือนคำเบา เสียงติฉินก็จะเหมือนเสียงลมแว่วผ่าน ไม่อาจทำให้ปรากฏเป็นการกระทำคำพูดที่รุนแรงเป็นปฏิกิริยาตอบโต้"
วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ตอนที่๒ ความอดทน เกิดได้ด้วยความเมตตาเป็นสำคัญ
หนังสือเรื่อง ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กล่าวว่า "ผู้มีขันติ นับได้ว่าเป็นผู้มีเมตตาเพราะความอดทนจะทำให้ไม่ปฏิบัติตอบโต้ความรุนแรงที่ได้รับ คือจะไม่ทำร้ายแม้ผู้ที่ให้ร้าย จะอดทนได้ สงบอยู่ได้อย่างปกติ ความอดทนได้เช่นนี้มีเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือความเมตตา
ความเมตตาจะทำให้ไม่คิดร้าย ไม่พูดร้าย ไม่ทำร้ายผู้ใดทั้งนั้น แม้ว่าผู้นั้นจะคิดร้าย พูดร้าย ทำร้ายตนสักเพียงใด เมตตาจะทำให้มุ่งรักษาผู้อื่น รักษาจิตใจผู้อื่นไม่ให้ต้องกระทบกระเทือน เพราะการคิด การพูด การทำของตน ความมุ่งรักษาจิตใจผู้อื่นเช่นนั้น เป็นเหตุให้พยายามระงับกายวาจาใจของตนให้สงบอยู่ ไม่แสดงความรุนแรงผิดปกติให้ปรากฏออกกระทบผู้อื่น นี้คือขันติ ความอดทนที่เกิดได้ด้วยอำนาจของเมตตาเป็นสำคัญ
ความเมตตาจะทำให้ไม่คิดร้าย ไม่พูดร้าย ไม่ทำร้ายผู้ใดทั้งนั้น แม้ว่าผู้นั้นจะคิดร้าย พูดร้าย ทำร้ายตนสักเพียงใด เมตตาจะทำให้มุ่งรักษาผู้อื่น รักษาจิตใจผู้อื่นไม่ให้ต้องกระทบกระเทือน เพราะการคิด การพูด การทำของตน ความมุ่งรักษาจิตใจผู้อื่นเช่นนั้น เป็นเหตุให้พยายามระงับกายวาจาใจของตนให้สงบอยู่ ไม่แสดงความรุนแรงผิดปกติให้ปรากฏออกกระทบผู้อื่น นี้คือขันติ ความอดทนที่เกิดได้ด้วยอำนาจของเมตตาเป็นสำคัญ
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ตอนที่๑ ผู้มีขันติเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา
หนังสือเรื่อง ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา พระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กล่าวว่า ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย นี้เป็นพุทธศาสนสุภาษิต
ขันติ คือ ความอดทน เป็นต้น อดทนต่อหนาวร้อนหิวระหาย อดทนต่อถ้อยคำแรงร้าย และอดทนต่อทุกขเวทนาต่างๆ ไม่แสดงอาการผิดไปจากปกติ เมื่อพบความหนาวร้อนหิวระหาย เมื่อได้ยินถ้อยคำแรงร้าย และเมื่อเกิดทุกขเวทนาต่างๆ
ขันติ คือ ความอดทน เป็นต้น อดทนต่อหนาวร้อนหิวระหาย อดทนต่อถ้อยคำแรงร้าย และอดทนต่อทุกขเวทนาต่างๆ ไม่แสดงอาการผิดไปจากปกติ เมื่อพบความหนาวร้อนหิวระหาย เมื่อได้ยินถ้อยคำแรงร้าย และเมื่อเกิดทุกขเวทนาต่างๆ
วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
หัวใจของขุนพล
หนังสือเรื่อง ปรัชญานิพนธ์ขงเบ้ง แปลโดย เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ กล่าวว่า ผู้เป็นขุนพลจะต้องมีอัจฉริยบุรุษเป็นหัวใจ คอยวางแผนให้และจะต้องมีลูกมือและสมุนคู่ใจคอยเป็นหูเป็นตาให้
ขุนพลผู้ใดไม่มีอัจฉริยบุรุษเป็นหัวใจ ขุนพลผู้นั้นก็เปรียบได้เสมือนบุคคลที่กำลังเดินอยู่ในความมืดซึ่งมองไม่เห็นทาง กล่าวคือไม่อาจจะดำเนินการได้ถูกต้อง
ขุนพลผู้ใดไม่มีสมุนคู่ใจคอยเป็นหูเป็นตาให้ ย่อมตกอยู่ในสภาพโง่งมงาย ไม่รู้การเคลื่อนไหวของกองทัพ
ขุนพลที่ไม่มีลูกมือคอยรับใช้เป็นมือให้ ก็เปรียบเสมือนบุคคลที่อดโซได้กินของที่เป็นพิษเข้าไป ซึ่งไม่มีทางที่จะรอดชีวิตไปได้
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ขุนพลที่มีความสามารถจะต้องมีอัจฉริยบุรุษที่เปรื่องปราดในวิชาความรู้เป็นคนสนิทหรือเป็นหัวใจ จะต้องมีบุคคลที่มีความคิดสุขุมและละเอียดรอบคอบเป็นสมุนคู่ใจ ซึ่งจะได้คอยเป็นหูเป็นตาให้ จะต้องมีบุคคลที่ห้าวหาญมีฝีมือในการรบเป็นลูกมือคู่ใจ
ขุนพลผู้ใดไม่มีอัจฉริยบุรุษเป็นหัวใจ ขุนพลผู้นั้นก็เปรียบได้เสมือนบุคคลที่กำลังเดินอยู่ในความมืดซึ่งมองไม่เห็นทาง กล่าวคือไม่อาจจะดำเนินการได้ถูกต้อง
ขุนพลผู้ใดไม่มีสมุนคู่ใจคอยเป็นหูเป็นตาให้ ย่อมตกอยู่ในสภาพโง่งมงาย ไม่รู้การเคลื่อนไหวของกองทัพ
ขุนพลที่ไม่มีลูกมือคอยรับใช้เป็นมือให้ ก็เปรียบเสมือนบุคคลที่อดโซได้กินของที่เป็นพิษเข้าไป ซึ่งไม่มีทางที่จะรอดชีวิตไปได้
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ขุนพลที่มีความสามารถจะต้องมีอัจฉริยบุรุษที่เปรื่องปราดในวิชาความรู้เป็นคนสนิทหรือเป็นหัวใจ จะต้องมีบุคคลที่มีความคิดสุขุมและละเอียดรอบคอบเป็นสมุนคู่ใจ ซึ่งจะได้คอยเป็นหูเป็นตาให้ จะต้องมีบุคคลที่ห้าวหาญมีฝีมือในการรบเป็นลูกมือคู่ใจ
วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
กำจัดความเลวร้าย
หนังสือเรื่อง ปรัชญานิพนธ์ขงเบ้ง โดย เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ ได้กล่าวไว้ว่า "ความเลวร้ายของกองทัพมีอยู่ 5 ประการ ด้วยกันดังนี้
๑. แตกความสามัคคี แบ่งพรรคแบ่งพวก เป็นกลุ่มๆ ในกองทัพ ก่อหวอดทำลายอัจฉริยบุรุษ
๒. ชอบสวมเครื่องแบบที่โก้หรู เพื่อเบ่งบารมี โอ้อวดความยิ่งใหญ่
๓. ปล่อยข่าวโคมลอย ปลุกปั่นข่าวลือ บ่อนทำลายขวัญของกองทัพ
๔. ชอบฟื้นฝอยหาตะเข็บ คอยจับผิด ต่อความยาวสาวความยืด หาทางก่อความระส่ำระสายในกองทัพ
๕. คอยจ้องหาโอกาสลักลอบเป็นไส้ศึกให้แก่ข้าศึก
บุคคลเลวร้ายที่ไม่มีคุณธรรมทั้ง ๕ ประการดังกล่าวนี้ เราควรจะปลีกตัวออกห่าง ไม่ควรจะเข้าใกล้ให้เป็นที่เสื่อมเสีย"
๑. แตกความสามัคคี แบ่งพรรคแบ่งพวก เป็นกลุ่มๆ ในกองทัพ ก่อหวอดทำลายอัจฉริยบุรุษ
๒. ชอบสวมเครื่องแบบที่โก้หรู เพื่อเบ่งบารมี โอ้อวดความยิ่งใหญ่
๓. ปล่อยข่าวโคมลอย ปลุกปั่นข่าวลือ บ่อนทำลายขวัญของกองทัพ
๔. ชอบฟื้นฝอยหาตะเข็บ คอยจับผิด ต่อความยาวสาวความยืด หาทางก่อความระส่ำระสายในกองทัพ
๕. คอยจ้องหาโอกาสลักลอบเป็นไส้ศึกให้แก่ข้าศึก
บุคคลเลวร้ายที่ไม่มีคุณธรรมทั้ง ๕ ประการดังกล่าวนี้ เราควรจะปลีกตัวออกห่าง ไม่ควรจะเข้าใกล้ให้เป็นที่เสื่อมเสีย"
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
อาชญาสิทธิ์ของขุนทัพ
หนังสือเรื่อง ปรัชญานิพนธ์ขงเบ้ง แปลโดย เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ ได้กล่าวไว้ว่า "อาชญาสิทธิ์ในการคุมกำลังทหารมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ประดุจหัวใจของกองทัพที่จะทำให้ขุนพลผู้คุมกำลังทหารสามารถสำแดงพลานุภาพได้อย่างเกรียงไกร มาตรว่าขุนพลผู้คุมกำลังทหารมีอาชญาสิทธิ์เด็ดขาดแล้ว ย่อมจักสามารถคุมกำลังเข้าต่อต้านข้าศึกอย่างห้าวหาญและเกรียงไกร ประดุจเสือติดปีก สามารถผาดโผนแผ่ศักดาไปทั่วสกลโลก ไม่ว่าจะเผชิญกับเหตุการณ์อย่างไรก็ตามเขาจักสามารถสำเดงอานุภาพเอาชนะอุปสรรคได้อย่างอาจหาญ หากขุนพลผู้คุมกำลังทหารผู้ใดขาดอาชญาสิทธิ์แล้ว ย่อมไม่อาจจะคุมกำลังทหารเข้าต่อต้านข้าศึกได้ เปรียบเสมือนมังกรที่หลงถิ่นขึ้นมาอยู่บนพื้นปฐพี ซึ่งไม่สามารถจะแหวกว่ายตีฟองโต้คลื่นเล่นอย่างคึกคะนองในมหานทีนั่นเอง"
วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555
หนึ่งร้อยคำสอนสมเด็จพระสังฆราช ตอนที่๙ ชีวิต
การแก้ปัญหาของคนเรา ถ้าป้องกันไว้ก่อนแก้ไม่ทันก็แก้เมื่อปัญหายังเล็กน้อยจะง่ายกว่า เหมือนอย่างดับไฟกองเล็กง่ายกว่าดับไฟกองโต ถ้าเป็นผู้ที่สนใจธรรมะบ้างก็จะหาหนทางปฏิบัติได้ถูกต้อง ดังที่พระพุทธเจ้ายกขึ้นแสดงว่า ธรรมะพันเกี่ยวข้องกับตัวเราเอง ทุกๆ คนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้ชายหรือผู้หญิง ถ้าตั้งใจมั่นในการประพฤติธรรมให้พอเหมาะแก่ภาวะของตนเองก็จะทำตนให้พ้นจากความทุกข์ภัยพิบัติได้ ถ้าไม่ปฏิบัติก็อาจจะเผลอพลั้งพลาดและถ้าไม่รู้วิธีแก้ปัญหาด้วยธรรมะก็อาจจะทำให้หลุดพ้นจากบ่วงปัญหาได้ยาก ฉะนั้นถ้าสนใจพระธรรมบ้างก็จะมีเครื่องป้องกันแก้ไขให้พ้นจากความทุกข์ ดังคำกล่าวที่ว่า พระธรรมคุ้มครอง
ป้ายกำกับ:
๑00คำสอนสมเด็จพระสังฆราช,
ชีวิต,
พระธรรม
หนึ่งร้อยคำสอนสมเด็จพระสังฆราช ตอนที่๘ ชีวิต
การฆ่าตัวตาย เป็นการแสดงความอับจนพ่ายแพ้หมดหนทางแก้ไข หมดทางออกอย่างอื่น สิ้นหนทางแล้ว เมื่อฆ่าตัวก็เป็นการทำลายตัว เมื่อทำลายตัวก็เป็นการทำลายประโยชน์ทุกอย่างที่พึงได้ในชีวิต ในบางกลุ่มบางหมู่เห็นว่าการฆ่าตัวตายในบางกรณีเป็นเกียรติสูง แต่ทางพระพุทธศาสนาแสดงว่าเป็นโมฆกรรม คือกรรมที่เปล่าประโยชน์ เรียกผู้ทำว่า คนเปล่า เท่ากับว่าตายเปล่าๆ ควรจะทำอะไรให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้ก็หมดโอกาส
ป้ายกำกับ:
๑00คำสอนสมเด็จพระสังฆราช,
การฆ่าตัวตาย,
ชีวิต,
โมฆกรรม
หนึ่งร้อยคำสอนสมเด็จพระสังฆราช ตอนที่๗ ชีวิต
คติธรรมที่ไม่มีใครเกิดมาในโลกนี้จะหนีไปให้พ้นได้ก็คือ ความแก่ ความตาย แต่คนโดยมากพากันประมาทเหมือนอย่างว่าไม่แก่ ไม่ตาย น่าที่จะรีบทำความดีแต่ก็ไม่ทำ กลับไปทำความชั่วก่อความเดือดร้อนให้แก่กันและกัน ต่างต้องเผชิญทุกข์เพราะกรรมที่ต่างก่อให้แก่กันอีกด้วย ฉะนั้นก็น่าจะนึกถึงความแก่ ความตายกันบ้าง เพื่อจะได้ลดความมัวเมาและทำความดี
ป้ายกำกับ:
๑00คำสอนสมเด็จพระสังฆราช,
ความแก่ ความตาย,
ชีวิต
วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555
หนึ่งร้อยคำสอนสมเด็จพระสังฆราช ตอนที่๖ ชีวิต
ตนรักชีวิตของตนสะดุ้งกลัวความตายฉันใด สัตว์อื่นก็รักชีวิตตนและสะดุ้งกลัวความตายฉันนั้น ฉะนั้นจึงไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรใช้ให้ผู้อื่นฆ่า อนึ่ง ตนรักสุข เกลียดทุกข์ฉันใด สัตว์อื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์ฉันนั้น จึงไม่ควรสร้างความสุขให้ตนเองด้วยการก่อทุกข์ให้แก่คนอื่น
หนึ่งร้อยคำสอนสมเด็จพระสังฆราช ตอนที่๕ ชีวิต
ชีวิตคนเราเติบโตขึ้นมาดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความเมตตากรุณาจากผู้อื่นมาตั้งแต่เบื้องต้น คือ เมตตา กรุณา จากบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ ญาติสนิทมิตรสหาย ถ้าไม่ได้รับความเมตตาก็อาจจะสิ้นชีวิตไปแล้วเพราะถูกทิ้ง เมื่อเราเติบโตมาจากความเมตตากรุณา ก็ควรมีความเมตตากรุณาต่อชีวิตอื่นต่อไป
วิธีปลูกความเมตตากรุณา คือต้องตั้งใจปรารถนาให้เขาเป็นสุข ตั้งใจปรารถนาให้เขาปราศจากทุกข์ โดยเริ่มจากเมตตาตัวเองก่อน แล้วคิดไปถึงคนใกล้ชิด คนที่เรารักจะทำให้เกิดความเมตตาได้ง่าย แล้วค่อยๆ คิดไปให้ความเมตตาต่อคนที่ห่างออกไปโดยลำดับ
วิธีปลูกความเมตตากรุณา คือต้องตั้งใจปรารถนาให้เขาเป็นสุข ตั้งใจปรารถนาให้เขาปราศจากทุกข์ โดยเริ่มจากเมตตาตัวเองก่อน แล้วคิดไปถึงคนใกล้ชิด คนที่เรารักจะทำให้เกิดความเมตตาได้ง่าย แล้วค่อยๆ คิดไปให้ความเมตตาต่อคนที่ห่างออกไปโดยลำดับ
ป้ายกำกับ:
๑00คำสอนสมเด็จพระสังฆราช,
ชีวิต,
เมตตากรุณา
วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555
หนึ่งร้อยคำสอนสมเด็จพระสังฆราช ตอนที่๔ ชีวิต
ความเปลี่ยนแปลงของชีวิตหรือของโลกเป็นทุกข์ประจำชีวิตหรือประจำโลกไม่เป็นเรื่องแปลกประหลาดอันใด เมื่อจะสรุปกล่าวให้สั้น ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสี่นี้ย่อลงเป็นสอง คือความเกิดและความดับซึ่งเป็นสิ่งที่สกัดหน้าสกัดหลังของโลก ของชีวิตทุกชีวิตนี่เรียกคติธรรมดา แปลว่า ความเป็นไปตามธรรมดา
ความไม่สบายใจทุกๆอย่าง พระพุทธเจ้าทรงชี้ว่าเป็นทุกข์ ทุกคนคงเคยประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก พลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก ปรารถนาไม่ได้สมหวัง เกิดทุกข์โศกต่างๆ นี่แหล่ะพระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่าเป็นทุกข์โลกหรือชีวิต ประกอบด้วยทุกข์ดังกล่าวมาแล้ว ฉะนั้นทุกข์จึงเป็นความจริงที่โลกหรือทุกชีวิตต้องเผชิญ
ความไม่สบายใจทุกๆอย่าง พระพุทธเจ้าทรงชี้ว่าเป็นทุกข์ ทุกคนคงเคยประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก พลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก ปรารถนาไม่ได้สมหวัง เกิดทุกข์โศกต่างๆ นี่แหล่ะพระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่าเป็นทุกข์โลกหรือชีวิต ประกอบด้วยทุกข์ดังกล่าวมาแล้ว ฉะนั้นทุกข์จึงเป็นความจริงที่โลกหรือทุกชีวิตต้องเผชิญ
ป้ายกำกับ:
๑00คำสอนสมเด็จพระสังฆราช,
คติธรรมดา,
ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต
วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555
หนึ่งร้อยคำสอนสมเด็จพระสังฆราช ตอนที่๓ ชีวิต
เราเกิดมาด้วยตัณหา ความอยากและกรรม เพื่อสนองตัณหาและกรรมของตนเอง ตัณหาและกรรมจึงเป็นตัวอำนาจหรือผู้สร้างให้เราเกิดมา ใครเล่าเป็นผู้สร้างอำนาจนี้ ตอบได้ว่าคือ ตัวเอง เพราะตนเองเป็นผู้อยากเองและเป็นผู้ทำกรรม ฉะนั้นตนนี้เองแหละเป็นผู้สร้างให้ตนเองเกิดมา
อนุมานดูตามคำของผู้ตรัสรู้นี้ในกระแสปัจจุบัน สมมุติว่าอยากเป็นผู้แทนราษฎร ก็สมัครรับเลือกตั้งและหาเสียง เมื่อชนะคะแนนก็เป็นผู้แทนราษฎร นี่คือความอยากเป็นเหตุให้ทำกรรม คือทำการต่างๆ ตั้งแต่การสมัคร การหาเสียง เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับผล คือได้เป็นผู้แทน
อนุมานดูตามคำของผู้ตรัสรู้นี้ในกระแสปัจจุบัน สมมุติว่าอยากเป็นผู้แทนราษฎร ก็สมัครรับเลือกตั้งและหาเสียง เมื่อชนะคะแนนก็เป็นผู้แทนราษฎร นี่คือความอยากเป็นเหตุให้ทำกรรม คือทำการต่างๆ ตั้งแต่การสมัคร การหาเสียง เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับผล คือได้เป็นผู้แทน
วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555
หนึ่งร้อยคำสอนสมเด็จพระสังฆราช ตอนที่๒ ชีวิต
คำว่า ชีวิต มิได้มีความหมายเพียงแค่ความเป็นอยู่แห่งร่างกาย แต่หมายถึงความสุข ความทุกข์ ความเจริญ ความเสื่อม ของบุคคลในทางต่างๆ ด้วย บางคนมีปัญหาว่าจะวาดภาพชีวิตของตนอย่างไรในอนาคตหรืออะไรควรจะเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิตและจะไปถึงจุดมุ่งหมายนั้นหรือ ที่นึกที่วาดภาพไว้นั้นด้วยอะไร ปัญหาที่ถามคลุมไปดังนี้ น่าจะตอบให้ตรงจุดเฉพาะบุคคลได้ยากเพราะไม่รู้ว่าทางแห่งชีวิตของแต่ละบุคคลตามที่กรรมกำหนดไว้เป็นอย่างไร และถ้าวาดภาพของชีวิตอนาคตไว้เกินวิสัยของตนที่จะพึงถึง แบบที่เรียกว่าสร้างวิมานบนอากาศก็จะเกิดความสำเร็จขึ้นมาไม่ได้แน่ หรือแม้วาดภาพชีวิตไว้ในวิสัยที่พึงได้พึงถึง แต่ขาดเหตุที่จะอุปการะให้ไปถึงจุดหมายนั้นก็ยากอีกเหมือนกันที่จะเกิดเป็นความจริงขึ้นมา
วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555
หนึ่งร้อยคำสอนสมเด็จพระสังฆราช ตอนที่๑ ชีวิต
มนุษย์ ที่แปลอย่างหนึ่งว่า ผู้มีจิตใจสูง คือ มีความรู้สูง ดังจะเห็นได้ว่าคนเรามีพื้นปัญญาสูงกว่าสัตว์ดิรัจฉานมากมาย สามารถรู้จักเปรียบเทียบในความดี ความชั่ว ความควรทำไม่ควรทำ รู้จักละอาย รู้จักเกรง รู้จักปรับปรุงสร้างสรรค์ที่เรียกว่าวัฒนธรรม อารยธรรม ศาสนา เป็นต้น แสดงว่ามีความดีที่ได้สั่งสมมา โดยเฉพาะปัญญาเป็นรัตนะ ส่องสว่างนำทางแห่งชีวิต ถึงดังนั้นก็ยังมีความมืดที่มากำบังจิตใจให้เห็นผิดเป็นชอบ ความมืดที่สำคํยนั่นคือ กิเลสในจิตใจและกรรมเก่าทั้งหลาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)