ดร.ไมเคิล เจเซ่น ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด บิสซิเนส สคูล และผู้ได้รับปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์, การเงินและบัญชี จาก มหาวิทยาลัยชิคาโก ได้กล่าวถึง หลักพื้นฐาน 4 ประการในการสร้างชีวิตที่ดี สร้างผู้นำที่ยอดเยี่ยม และสร้างองค์กรที่ดี ซึ่งประกอบด้วย
1.) จงยึดมั่นในความจริงและสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวเอง (Authenticity) คือ ผู้นำควรยึดมั่นในความจริง มีความน่าเชื่อถือทั้งการแสดงออก และความคิดความเชื่อ ซึ่งจะต้องมีความสอดคล้องกัน โดยอาจเริ่มจากเชื่อก่อนว่าอะไรคือสิ่งที่ไม่จริง เพราะใครๆ ก็สามารถแสดงออกภายนอกได้ว่าเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือ แต่จะมีสักกี่คนที่จะยอมรับความจริงว่า ตนไม่ได้รู้อะไรเลย ดังนั้นการที่จะเข้าใจว่าอะไรคือความจริงจึงต้องเริ่มจากการยอมรับกับความไม่จริงของตนเอง กล้าเผชิญหน้าและบอกกับคนอื่นๆ ว่า ตนมีข้อบกพร่องอย่างไร
2.) จงตระหนักกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต (Being Cause in the Matter of Everything in your Life) คือ การตระหนักถึงการมีอยู่ของตนเอง เป็นการสร้างสมดุลระหว่างจุดยืนที่มีอยู่และการแสดงออกเพื่อให้คนอื่นๆ มองเห็น เพราะการที่เราตระหนักว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรานั้นมันเกิดจากความคิดและการกระทำของเรา ไม่ได้เกี่ยวกับปัจจัยภายนอกเลยนั้น จะทำให้เราเป็นอิสระมากขึ้น "ดังนั้นองค์กรที่ยอดเยี่ยมย่อมไม่ตำหนิว่า สาเหตุของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในองค์กรเกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอก แต่จะกลับเข้ามารพินิจพิขารณาจากสิ่งที่องค์กรกระทำและตัดสินใจว่า เป็นสาเหตุให้เกิดความผิดพลาดต่างๆ อย่างไร"
3.) จงหลอมรวมกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวตน (Being Committed to Something Bigger than Oneself) คือ แรงผลักดันที่ทำให้มนุษย์คนหนึ่งก้าวเดินต่อไป หรือยกตัวเองให้สูงขึ้นจากจุดที่เป็นอยู่ นั่นคือจะทำให้คนธรรมดาคนหนึ่งมีความเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่โดยธรรมชาติ เพราะเขาหรือเธอจะยืนหยัดและยึดมั่นในสิ่งที่พวกเขาเชื่อถือ ซึ่งจะเป็นทั้งความปรารถนาต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดและเป็นพลังผลักดันให้คนๆ หนึ่งก้าวเดินไปข้างหน้าตลอดเวลา
4.) จงซื่อสัตย์และตรงไปตรงมา (Integrity) คือ ความเที่ยงตรงต่อความจริง และความตรงไปตรงมานี้ก็มีความหมายมากกว่าเรื่องศีลธรรมจรรยา แต่จะต้องสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ บนพื้นฐานของความจริงและสื่อสารกับโลกในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การที่บุคคลหนึ่งจะเป็นคนที่ซื่อตรงซื่อสัตย์โดยธรรมชาติได้นั้น จำเป็นต้องเริ่มจากการเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเองคิดและตนเองพูด เป็นคนที่ทำมากกว่าพูดและพร้อมจะยอมรับกับกติกาที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงร่วมกัน อีกทั้งยังพร้อมจะพัฒนาและยอมรับกับเหตุผลที่เกิดขึ้นในระหว่างทางอยู่เสมอ ดังนั้นคนประเภทนี้จึงพัฒนาได้ตลอดเวลา ไม่ใช่คนที่คิดว่าเมื่อประสบความสำเร็จแล้วตนถูกต้องทุกอย่าง
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติ ฉบับวันจันทร์ที่28 - วันพูธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2555
วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ตอนที่๗ คิดให้ดี คิดให้ถูกต้อง ดับทุกข์ร้อนในใจได้จริง
หนังสือเรื่อง ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กล่าวว่า คิดให้ดี คิดให้ถูกต้อง จักเกิดเมตตา อันจักเป็นเหตุให้มีขันติที่ถูกแท้ ดับทุกข์ดับร้อนในจิตใจได้จริง ไม่เพียงแต่อดทนบังคับกายวาจาไม่ให้แสดงออกเท่านั้นแต่ใจเราร้อนอยู่
เมตตา เหตุแห่งขันติที่ถูกแท้จะเกิดขึ้นดับทุกข์ดับร้อนในจิตใจได้จริงก็ต้องคิดให้ถูกต้อง ถึงผู้เป็นเหตุแห่งเสียงทั้งหลาย เรื่องทั้งหลาย อันนำให้เกิดความเร่าร้อนขุ่นมัว คือต้องคิดให้ตระหนักชัดแก่จิตใจว่า ใจของผู้เป็นเหตุอยู่ในระดับเดียวกับเสียงกับเรื่องที่เขาก่อขึ้น เสียงและเรื่องที่หยาบที่รุนแรงเลวร้ายจะเกิดก็แต่ใจที่หยาบรุนแรงเลวร้าย และใจเช่นนั้นที่ก่อให้เกิดเสียงเกิดเรื่องเช่นนั้น ย่อมทำให้เจ้าของใจนั้นหาความสุขสงบไม่ได้ ใจเช่นนั้นจึงควรได้รับความเมตตาจากผู้มีเมตตาทั้งหลาย ไม่ใช่ควรได้รับความโกรธแค้นขุ่นเคือง
เมตตา เหตุแห่งขันติที่ถูกแท้จะเกิดขึ้นดับทุกข์ดับร้อนในจิตใจได้จริงก็ต้องคิดให้ถูกต้อง ถึงผู้เป็นเหตุแห่งเสียงทั้งหลาย เรื่องทั้งหลาย อันนำให้เกิดความเร่าร้อนขุ่นมัว คือต้องคิดให้ตระหนักชัดแก่จิตใจว่า ใจของผู้เป็นเหตุอยู่ในระดับเดียวกับเสียงกับเรื่องที่เขาก่อขึ้น เสียงและเรื่องที่หยาบที่รุนแรงเลวร้ายจะเกิดก็แต่ใจที่หยาบรุนแรงเลวร้าย และใจเช่นนั้นที่ก่อให้เกิดเสียงเกิดเรื่องเช่นนั้น ย่อมทำให้เจ้าของใจนั้นหาความสุขสงบไม่ได้ ใจเช่นนั้นจึงควรได้รับความเมตตาจากผู้มีเมตตาทั้งหลาย ไม่ใช่ควรได้รับความโกรธแค้นขุ่นเคือง
วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ตอนที่๖ ขันติที่แท้ เป็นความเบาสบายแก่ใจและกาย
หนังสือ ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กล่าวว่า ใจเป็นใหญ่ ใจมีความสำคัญแก่ทุกชีวิตอย่างยิ่ง การปล่อยให้ใจมีเรื่องเร่าร้อนเข้าเผาลนย่อมมีผลร้ายแก่ชีวิต ขันติที่แท้จริงเป็นขันติที่ให้ความเบาสบายแก่ใจ เบาสบายแก่กาย
เบาสบายแก่ใจคือใจเบิกบาน ปลอดโปร่ง ไม่บอบช้ำเศร้าหมองด้วยความเสียใจ น้อยใจ เจ็บใจ อันเกิดแต่ความไม่สมหวัง ไม่มีอาฆาตพยาบาท อันเกิดแต่ความโกรธแค้นขุ่นเคืองอย่างรุนแรง เบาสบายแก่กายคือจะปฏิบัติหน้าที่การงาน เข้าสังคมสมาคมได้อย่างสบายใจ มั่นใจ ไม่สะทกสะท้านให้ความเย็นแก่ผู้พบเห็นข้องเกี่ยวใกล้ชิด
เมตตาเป็นเหตุให้เกิดขันติได้คือเมื่อได้ยินได้ฟัง ได้รู้ได้เห็นอะไรที่ทำให้กระทบกระเทือนความสงบเย็นข้องใจ ให้คิดถึงผู้ก่อให้เกิดเรื่องเกิดเสียงเหล่านั้นอย่างถูกต้อง
ความสำคัญอยู่ที่ความคิดนั้น ถ้าคิดให้ดี คิดให้ถูกต้อง ก็จะให้เกิดผลดีแก่จิตใจ ถ้าคิดไม่ดี ไม่ถูกต้อง ก็จะเกิดผลไม่ดีแก่จิตใจตนเอง
เมื่อใดพบเห็นหรือได้ยินได้ฟังเรื่องใดสิ่งใด แล้วรู้สึกว่าผลไม่ดีคือความเดือดร้อนกำลังเกิดแก่จิตใจตน เมื่อนั้นให้รู้ว่าตนกำลังคิดไม่ดี คิดไม่ถูกต้อง แม้จะอดทนไม่พูดไม่ทำอะไรกระทบตา กระทบหู กระทบใจผู้อื่น แต่เมื่อใจเร่าร้อนอยู่นั่นเป็นเพียงขันติที่ไม่แท้ พึงแก้ที่ใจ ให้ขันติที่ถูกแท้เกิดขึ้นให้ได้ คือแก้ที่ใจให้สงบเย็นได้เมื่อใด เมื่อนั้นมีขันติที่ถูกแท้แล้ว
เบาสบายแก่ใจคือใจเบิกบาน ปลอดโปร่ง ไม่บอบช้ำเศร้าหมองด้วยความเสียใจ น้อยใจ เจ็บใจ อันเกิดแต่ความไม่สมหวัง ไม่มีอาฆาตพยาบาท อันเกิดแต่ความโกรธแค้นขุ่นเคืองอย่างรุนแรง เบาสบายแก่กายคือจะปฏิบัติหน้าที่การงาน เข้าสังคมสมาคมได้อย่างสบายใจ มั่นใจ ไม่สะทกสะท้านให้ความเย็นแก่ผู้พบเห็นข้องเกี่ยวใกล้ชิด
เมตตาเป็นเหตุให้เกิดขันติได้คือเมื่อได้ยินได้ฟัง ได้รู้ได้เห็นอะไรที่ทำให้กระทบกระเทือนความสงบเย็นข้องใจ ให้คิดถึงผู้ก่อให้เกิดเรื่องเกิดเสียงเหล่านั้นอย่างถูกต้อง
ความสำคัญอยู่ที่ความคิดนั้น ถ้าคิดให้ดี คิดให้ถูกต้อง ก็จะให้เกิดผลดีแก่จิตใจ ถ้าคิดไม่ดี ไม่ถูกต้อง ก็จะเกิดผลไม่ดีแก่จิตใจตนเอง
เมื่อใดพบเห็นหรือได้ยินได้ฟังเรื่องใดสิ่งใด แล้วรู้สึกว่าผลไม่ดีคือความเดือดร้อนกำลังเกิดแก่จิตใจตน เมื่อนั้นให้รู้ว่าตนกำลังคิดไม่ดี คิดไม่ถูกต้อง แม้จะอดทนไม่พูดไม่ทำอะไรกระทบตา กระทบหู กระทบใจผู้อื่น แต่เมื่อใจเร่าร้อนอยู่นั่นเป็นเพียงขันติที่ไม่แท้ พึงแก้ที่ใจ ให้ขันติที่ถูกแท้เกิดขึ้นให้ได้ คือแก้ที่ใจให้สงบเย็นได้เมื่อใด เมื่อนั้นมีขันติที่ถูกแท้แล้ว
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ตอนที่๕ เมตตา เป็นเหตุให้เกิดขันติคือความอดทน
หนังสือ ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กล่าวว่า ผู้มีขันติเป็นผู้มีเมตตา อีกนัยหนื่งก็คือ เมตตาเป็นเหตุให้เกิดขันติ คือความอดทน เมื่อต้องการจะเป็นผู้มีขันติต้องนำเมตตามาใช้คือต้องคิดด้วยเมตตาเป็นประการแรก แล้วจึงพูดจึงทำด้วยเมตตาตาม ต่อมา เมื่อได้รู้ ได้เห็น ได้ยิน ได้สัมผัส ได้กระทบเรื่องใด สิ่งใด ผู้คนใดที่รุนแรงหยาบกระด้าง ไม่ประณีตงดงามแก่ตา แก่หู เป็นต้นของตน แม้ใจหวั่นไหว ไม่ว่ามากหรือน้อย เมื่อสติเกิดรู้ตัว เห็นความหวั่นไหว ความเร่าร้อนแห่งจิตของตน อันเกิดแต่ความโกรธก็ตาม ความคับแค้นใจ ความน้อยใจก็ตาม ความเศร้าเสียใจทุกข์โทมนัสใจก็ตาม ผู้ไม่มีขันติจะคิด จะพูด จะทำ เพื่อระบายความกดดันในใจออก ให้รุนแรงสาสมกับความกระทบกระเทือนที่ได้รับรู้รับเห็น
แต่ผู้มีขันติพอสมควรจะระงับความกดดันให้อยู่แต่ภายในใจ ไม่ให้ระเบิดออกเป็นการกระทำ คำพูด ไม่ให้รู้ ไม่ให้เห็น ไม่ให้ประจักษ์ ไม่ให้กระทบกระเทือนผู้เป็นเหตุให้มีเสียงมีเรื่องเกี่ยวกับตน มาถึงตน
แต่ผู้มีขันติพอสมควรจะระงับความกดดันให้อยู่แต่ภายในใจ ไม่ให้ระเบิดออกเป็นการกระทำ คำพูด ไม่ให้รู้ ไม่ให้เห็น ไม่ให้ประจักษ์ ไม่ให้กระทบกระเทือนผู้เป็นเหตุให้มีเสียงมีเรื่องเกี่ยวกับตน มาถึงตน
ตอนที่๔ ขันติเป็นเหตุแห่งลาภยศและมีสุขอยู่เสมอ
หนังสือ ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสัฆปริณายก กล่าวว่า "ผู้มีขันติไม่หวั่นไหววุ่นวายกับความเร่าร้อน ความหนาว ความหิวระหาย ไม่เร่าร้อนโกรธเคืองขุ่นแค้นกับถ้อยคำแรงร้าย ไม่คร่ำครวญหวนไห้ ไม่ทุกข์ระทมกับความทุกขเวทนาที่มาประสบพบเข้า เมื่อเป็นเช่นนี้ การดำรงชีวิตอยู่ในโลกของผู้มีขันติย่อมไม่สะดุดหยุดยั้งเพราะความหนาว ความร้อน เพราะความหิวระหาย เพราะวาจาแรงร้ายหรือเพราะทุกขเวทนาต่างๆ งานการย่อมดำเนินไปได้เป็นปกติ หนาวก็ปกติ ร้อนก็ปกติ หิวก็ปกติ ระหายก็ปกติ ถูกตำหนิติฉินนินทาว่าร้ายก็เป็นปกติ เกิดทุกขเวทนาก็เป็นปกติ งานการที่ดำเนินไปเป็นปกติตลอดเวลา ไม่เลือกหน้าหนาวหน้าร้อน ไม่เลือกเวลาอิ่ม เวลาหิว ไม่เลือกเวลาระหายหรือไม่ระหาย ไม่ว่าทุกขเวทนาจะกำลังรุมล้อมหรือไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมมีลาภ มียศ และมีสุขเสมอเป็นธรรมดา
วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ตอนที่๓ ผู้มีขันติ ความอดทน สงบอยู่ได้ด้วยอำนาจขันติ
หนังสือเรื่อง ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กล่าวว่า "ผู้มีขันติ ความอดทนนั้น ไม่ใช่ผู้ไม่รู้ร้อนไม่รู้หนาว ไม่ใช่ผู้ไม่รู้หิวระหาย ไม่ใช่ผู้ไม่รู้คำหนักคำเบา ไม่ใช่ผู้ไม่รู้สุขไม่รู้ทุกข์ ผู้มีขันติก็เช่นเดียวกับใครทั้งหลายที่มีสติสัมปชัญญะดีอยู่คือเป็นผู้รู้ร้อนรู้หนาว เป็นผู้รู้หิวระหาย เป็นผู้รู้คำหนักคำเบา เป็นผู้รู้สุขรู้ทุกข์
แต่ผู้มีขันติแตกต่างจากผู้ไม่มีขันติตรงที่ผู้ไม่มีขันตินั้น เมื่อพบร้อนพบหนาวมากไปน้อยไป ก็กระสับกระส่าย กระวนกระวาย แสดงออกถึงความเร่าร้อน ไม่รู้อดไม่รู้ทนของจิตใจ ส่วนผู้มีขันติเมื่อพบร้อนพบหนาวมากไปน้อยไป ก็จะสงบใจอดทนไม่แสดงออกให้ปรากฏทางกาย ทางวาจา หรือเมื่อหิวระหาย ผู้ไม่มีขันติก็จะวุ่นวาย กระสับกระส่ายแสวงหา ส่วนผู้มีขันติจะสงบกายวาจา หิวก็เหมือนไม่หิว ระหายก็เหมือนไม่ระหาย ไม่ปรากฏให้ใครอื่นรู้ได้จากกิริยาอาการภายนอก คำหนักคำเบาก็เช่นกัน ผู้ไม่มีขันติเมื่อกระทบถ้อยคำถึงตนที่หนักหนารุนแรงก็จะเกรี้ยวกราด เร่าร้อน ให้ปรากฏทางกาย ทางวาจา ส่วนผู้มีขันติจะสงบอยู่ได้ด้วยอำนาจของขันติ ได้ยินก็เหมือนไม่ได้ยิน คำหนักก็จะเหมือนคำเบา เสียงติฉินก็จะเหมือนเสียงลมแว่วผ่าน ไม่อาจทำให้ปรากฏเป็นการกระทำคำพูดที่รุนแรงเป็นปฏิกิริยาตอบโต้"
แต่ผู้มีขันติแตกต่างจากผู้ไม่มีขันติตรงที่ผู้ไม่มีขันตินั้น เมื่อพบร้อนพบหนาวมากไปน้อยไป ก็กระสับกระส่าย กระวนกระวาย แสดงออกถึงความเร่าร้อน ไม่รู้อดไม่รู้ทนของจิตใจ ส่วนผู้มีขันติเมื่อพบร้อนพบหนาวมากไปน้อยไป ก็จะสงบใจอดทนไม่แสดงออกให้ปรากฏทางกาย ทางวาจา หรือเมื่อหิวระหาย ผู้ไม่มีขันติก็จะวุ่นวาย กระสับกระส่ายแสวงหา ส่วนผู้มีขันติจะสงบกายวาจา หิวก็เหมือนไม่หิว ระหายก็เหมือนไม่ระหาย ไม่ปรากฏให้ใครอื่นรู้ได้จากกิริยาอาการภายนอก คำหนักคำเบาก็เช่นกัน ผู้ไม่มีขันติเมื่อกระทบถ้อยคำถึงตนที่หนักหนารุนแรงก็จะเกรี้ยวกราด เร่าร้อน ให้ปรากฏทางกาย ทางวาจา ส่วนผู้มีขันติจะสงบอยู่ได้ด้วยอำนาจของขันติ ได้ยินก็เหมือนไม่ได้ยิน คำหนักก็จะเหมือนคำเบา เสียงติฉินก็จะเหมือนเสียงลมแว่วผ่าน ไม่อาจทำให้ปรากฏเป็นการกระทำคำพูดที่รุนแรงเป็นปฏิกิริยาตอบโต้"
วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ตอนที่๒ ความอดทน เกิดได้ด้วยความเมตตาเป็นสำคัญ
หนังสือเรื่อง ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กล่าวว่า "ผู้มีขันติ นับได้ว่าเป็นผู้มีเมตตาเพราะความอดทนจะทำให้ไม่ปฏิบัติตอบโต้ความรุนแรงที่ได้รับ คือจะไม่ทำร้ายแม้ผู้ที่ให้ร้าย จะอดทนได้ สงบอยู่ได้อย่างปกติ ความอดทนได้เช่นนี้มีเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือความเมตตา
ความเมตตาจะทำให้ไม่คิดร้าย ไม่พูดร้าย ไม่ทำร้ายผู้ใดทั้งนั้น แม้ว่าผู้นั้นจะคิดร้าย พูดร้าย ทำร้ายตนสักเพียงใด เมตตาจะทำให้มุ่งรักษาผู้อื่น รักษาจิตใจผู้อื่นไม่ให้ต้องกระทบกระเทือน เพราะการคิด การพูด การทำของตน ความมุ่งรักษาจิตใจผู้อื่นเช่นนั้น เป็นเหตุให้พยายามระงับกายวาจาใจของตนให้สงบอยู่ ไม่แสดงความรุนแรงผิดปกติให้ปรากฏออกกระทบผู้อื่น นี้คือขันติ ความอดทนที่เกิดได้ด้วยอำนาจของเมตตาเป็นสำคัญ
ความเมตตาจะทำให้ไม่คิดร้าย ไม่พูดร้าย ไม่ทำร้ายผู้ใดทั้งนั้น แม้ว่าผู้นั้นจะคิดร้าย พูดร้าย ทำร้ายตนสักเพียงใด เมตตาจะทำให้มุ่งรักษาผู้อื่น รักษาจิตใจผู้อื่นไม่ให้ต้องกระทบกระเทือน เพราะการคิด การพูด การทำของตน ความมุ่งรักษาจิตใจผู้อื่นเช่นนั้น เป็นเหตุให้พยายามระงับกายวาจาใจของตนให้สงบอยู่ ไม่แสดงความรุนแรงผิดปกติให้ปรากฏออกกระทบผู้อื่น นี้คือขันติ ความอดทนที่เกิดได้ด้วยอำนาจของเมตตาเป็นสำคัญ
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ตอนที่๑ ผู้มีขันติเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา
หนังสือเรื่อง ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา พระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กล่าวว่า ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย นี้เป็นพุทธศาสนสุภาษิต
ขันติ คือ ความอดทน เป็นต้น อดทนต่อหนาวร้อนหิวระหาย อดทนต่อถ้อยคำแรงร้าย และอดทนต่อทุกขเวทนาต่างๆ ไม่แสดงอาการผิดไปจากปกติ เมื่อพบความหนาวร้อนหิวระหาย เมื่อได้ยินถ้อยคำแรงร้าย และเมื่อเกิดทุกขเวทนาต่างๆ
ขันติ คือ ความอดทน เป็นต้น อดทนต่อหนาวร้อนหิวระหาย อดทนต่อถ้อยคำแรงร้าย และอดทนต่อทุกขเวทนาต่างๆ ไม่แสดงอาการผิดไปจากปกติ เมื่อพบความหนาวร้อนหิวระหาย เมื่อได้ยินถ้อยคำแรงร้าย และเมื่อเกิดทุกขเวทนาต่างๆ
วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
หัวใจของขุนพล
หนังสือเรื่อง ปรัชญานิพนธ์ขงเบ้ง แปลโดย เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ กล่าวว่า ผู้เป็นขุนพลจะต้องมีอัจฉริยบุรุษเป็นหัวใจ คอยวางแผนให้และจะต้องมีลูกมือและสมุนคู่ใจคอยเป็นหูเป็นตาให้
ขุนพลผู้ใดไม่มีอัจฉริยบุรุษเป็นหัวใจ ขุนพลผู้นั้นก็เปรียบได้เสมือนบุคคลที่กำลังเดินอยู่ในความมืดซึ่งมองไม่เห็นทาง กล่าวคือไม่อาจจะดำเนินการได้ถูกต้อง
ขุนพลผู้ใดไม่มีสมุนคู่ใจคอยเป็นหูเป็นตาให้ ย่อมตกอยู่ในสภาพโง่งมงาย ไม่รู้การเคลื่อนไหวของกองทัพ
ขุนพลที่ไม่มีลูกมือคอยรับใช้เป็นมือให้ ก็เปรียบเสมือนบุคคลที่อดโซได้กินของที่เป็นพิษเข้าไป ซึ่งไม่มีทางที่จะรอดชีวิตไปได้
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ขุนพลที่มีความสามารถจะต้องมีอัจฉริยบุรุษที่เปรื่องปราดในวิชาความรู้เป็นคนสนิทหรือเป็นหัวใจ จะต้องมีบุคคลที่มีความคิดสุขุมและละเอียดรอบคอบเป็นสมุนคู่ใจ ซึ่งจะได้คอยเป็นหูเป็นตาให้ จะต้องมีบุคคลที่ห้าวหาญมีฝีมือในการรบเป็นลูกมือคู่ใจ
ขุนพลผู้ใดไม่มีอัจฉริยบุรุษเป็นหัวใจ ขุนพลผู้นั้นก็เปรียบได้เสมือนบุคคลที่กำลังเดินอยู่ในความมืดซึ่งมองไม่เห็นทาง กล่าวคือไม่อาจจะดำเนินการได้ถูกต้อง
ขุนพลผู้ใดไม่มีสมุนคู่ใจคอยเป็นหูเป็นตาให้ ย่อมตกอยู่ในสภาพโง่งมงาย ไม่รู้การเคลื่อนไหวของกองทัพ
ขุนพลที่ไม่มีลูกมือคอยรับใช้เป็นมือให้ ก็เปรียบเสมือนบุคคลที่อดโซได้กินของที่เป็นพิษเข้าไป ซึ่งไม่มีทางที่จะรอดชีวิตไปได้
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ขุนพลที่มีความสามารถจะต้องมีอัจฉริยบุรุษที่เปรื่องปราดในวิชาความรู้เป็นคนสนิทหรือเป็นหัวใจ จะต้องมีบุคคลที่มีความคิดสุขุมและละเอียดรอบคอบเป็นสมุนคู่ใจ ซึ่งจะได้คอยเป็นหูเป็นตาให้ จะต้องมีบุคคลที่ห้าวหาญมีฝีมือในการรบเป็นลูกมือคู่ใจ
วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
กำจัดความเลวร้าย
หนังสือเรื่อง ปรัชญานิพนธ์ขงเบ้ง โดย เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ ได้กล่าวไว้ว่า "ความเลวร้ายของกองทัพมีอยู่ 5 ประการ ด้วยกันดังนี้
๑. แตกความสามัคคี แบ่งพรรคแบ่งพวก เป็นกลุ่มๆ ในกองทัพ ก่อหวอดทำลายอัจฉริยบุรุษ
๒. ชอบสวมเครื่องแบบที่โก้หรู เพื่อเบ่งบารมี โอ้อวดความยิ่งใหญ่
๓. ปล่อยข่าวโคมลอย ปลุกปั่นข่าวลือ บ่อนทำลายขวัญของกองทัพ
๔. ชอบฟื้นฝอยหาตะเข็บ คอยจับผิด ต่อความยาวสาวความยืด หาทางก่อความระส่ำระสายในกองทัพ
๕. คอยจ้องหาโอกาสลักลอบเป็นไส้ศึกให้แก่ข้าศึก
บุคคลเลวร้ายที่ไม่มีคุณธรรมทั้ง ๕ ประการดังกล่าวนี้ เราควรจะปลีกตัวออกห่าง ไม่ควรจะเข้าใกล้ให้เป็นที่เสื่อมเสีย"
๑. แตกความสามัคคี แบ่งพรรคแบ่งพวก เป็นกลุ่มๆ ในกองทัพ ก่อหวอดทำลายอัจฉริยบุรุษ
๒. ชอบสวมเครื่องแบบที่โก้หรู เพื่อเบ่งบารมี โอ้อวดความยิ่งใหญ่
๓. ปล่อยข่าวโคมลอย ปลุกปั่นข่าวลือ บ่อนทำลายขวัญของกองทัพ
๔. ชอบฟื้นฝอยหาตะเข็บ คอยจับผิด ต่อความยาวสาวความยืด หาทางก่อความระส่ำระสายในกองทัพ
๕. คอยจ้องหาโอกาสลักลอบเป็นไส้ศึกให้แก่ข้าศึก
บุคคลเลวร้ายที่ไม่มีคุณธรรมทั้ง ๕ ประการดังกล่าวนี้ เราควรจะปลีกตัวออกห่าง ไม่ควรจะเข้าใกล้ให้เป็นที่เสื่อมเสีย"
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
อาชญาสิทธิ์ของขุนทัพ
หนังสือเรื่อง ปรัชญานิพนธ์ขงเบ้ง แปลโดย เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ ได้กล่าวไว้ว่า "อาชญาสิทธิ์ในการคุมกำลังทหารมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ประดุจหัวใจของกองทัพที่จะทำให้ขุนพลผู้คุมกำลังทหารสามารถสำแดงพลานุภาพได้อย่างเกรียงไกร มาตรว่าขุนพลผู้คุมกำลังทหารมีอาชญาสิทธิ์เด็ดขาดแล้ว ย่อมจักสามารถคุมกำลังเข้าต่อต้านข้าศึกอย่างห้าวหาญและเกรียงไกร ประดุจเสือติดปีก สามารถผาดโผนแผ่ศักดาไปทั่วสกลโลก ไม่ว่าจะเผชิญกับเหตุการณ์อย่างไรก็ตามเขาจักสามารถสำเดงอานุภาพเอาชนะอุปสรรคได้อย่างอาจหาญ หากขุนพลผู้คุมกำลังทหารผู้ใดขาดอาชญาสิทธิ์แล้ว ย่อมไม่อาจจะคุมกำลังทหารเข้าต่อต้านข้าศึกได้ เปรียบเสมือนมังกรที่หลงถิ่นขึ้นมาอยู่บนพื้นปฐพี ซึ่งไม่สามารถจะแหวกว่ายตีฟองโต้คลื่นเล่นอย่างคึกคะนองในมหานทีนั่นเอง"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)